Friday, September 11, 2009

ชินชิล่า

ชินชิลล่า


ลักษณะและพฤติกรรมตามธรรมชาติชินชิลล่า เป็นสัตว์ป่าซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขา Andes ในแถบอเมริกาใต้ แถบประเทศอาเจนตินา โบลิเวีย ชิลี และเปรู ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อปี ค.ศ.1810 และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี ค.ศ.1900 แต่เดิมนั้นชินชิลล่ามี 2 ชนิดคือ Chinchilla brevicaudata และ Chinchilla lanigeraโดย Chinchilla brevicaudata หูและหางจะสั้น คอและไหล่จะหนากว่า Chinchilla lanigera แต่ในปัจจุบันพบว่า Chinchilla brevicaudata ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ดังนั้นชินชิลล่าที่มนุษย์นำมาเลี้ยงจึงเป็นชนิด Chinchilla lanigera ซึ่งยังสามารถพบได้ในป่าจำนวนเล็กน้อย (เนื่องจากในอดีตมนุษย์มักล่าชินชิลล่าเพื่อนำขนไปทำเครื่องนุ่งห่ม จึงทำให้จำนวนประชากรลดลงเป็นอย่างมาก)



ชินชิลล่าเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีหูกางใหญ่คล้ายหนู ขนาดรูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขนมีลักษณะแน่นและหนา เพื่อป้องกันตัวเองจากอากาศหนาวเย็นบนเทือกเขาสูง อุ้งเท้าออกแบบมาเพื่อการเดินบนแผ่นหิน มีหลากหลายสีสันเช่น สีเทา สีเทาอ่อน สีดำ หางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอกในธรรมชาติชินชิลล่าเป็นสัตว์สังคม รักความสงบ ไม่ค่อยพบการต่อสู้กันเอง และอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ประมาณ 100 ตัว เพื่อป้องกันภัยจากผู้ล่าในป่า เช่น เหยี่ยว สกังค์ แมวป่า และสัตว์กินเนื้ออื่นๆ



โดยอาศัยอยู่ในโพรงหรือรอยแยกของหิน สามารถกระโดดได้อย่างว่องไวและกระโดดได้สูงกว่า 5 ฟุต พฤติกรรมการหาอาหารนั้น เจ้าชินชิลล่าออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะกินผัก ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง รวมทั้งหญ้าแห้งเป็นอาหาร แต่ในเวลากลางวันจะนอนและต้องการความเงียบสงบตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และตั้งท้องยาวนานมากเมื่อเทียบกับสัตว์ฟันแทะชนิดอื่นคือ 111 วัน



ดังนั้นลูกชินชิลล่าที่เกิดมาจึงมีขนขึ้นเต็มตัวและลืมตาแล้ว แต่มักจะมีลูกจำนวนน้อยต่อครอก ส่วนใหญ่ประมาณ 2 ตัวต่อครอก มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15 ปี (บางตัวอาจจะมากถึง 20 ปี)ชินชิลล่า มักจะทำเสียงหลายๆ แบบเพื่อแสดงความรู้สึกต่างๆ เช่นเสียงเห่า เสียงร้อง และเสียงเอี๊ยดๆ คล้ายเสียงเปิดบานพับของประตู หรือ หน้าต่าง และนอกจากนั้น ชินชิลล่าสามารถได้ยินเสียงในช่วงคลื่นความถี่ 20 - 30 Hz ซึ่งใกล้เคียงกับมนุษย์














No comments:

Post a Comment

ยินดีรับทุกข้อคิดเห็นค่ะ